* หมายเหตุ : มองหากลุ่มลงทุนทำเวปไซต์ธุรกิจครับ กลุ่มธุรกิจใดสนใจโครงการนี้ โปรดดูเพิ่มเติ่มได้ในหมวดหมู่สินค้า Info Domain
"By visitting this website you will find the most sparkling diamond that suits your need."
Domain Name Of The Feature !
---------------------------------------------------------------------------------------
เทคนิคการจดโดเมนเนม
การจดทะเบียนโดเมนเนม หรือการจดชื่อเว็บไซต์ เป็นมาตรฐานภาคบังคับของการเริ่มต้นจัดทำเว็บไซต์เลยครับ ถ้าไม่มีชื่อเว็บซึ่งจะเป็นที่อยู่ address ของเว็บไซต์แล้ว คนที่จะเข้ามาดูรายละเอียดเว็บเพจที่เราทำจะเข้าไม่ได้ เหมือนอยากโทรหาแต่ไม่มีเบอร์โทรศัพท์นั่นแหละครับ เอาเป็นว่าพอทราบคร่าวๆ ว่าชื่อเว็บไซต์ก็คือแหล่งที่อยู่ของเว็บ แต่สิ่งที่อยากให้คุณรู้ก็คือ การเลือกชื่อเว็บไซต์เพื่อใช้จดทะเบียนโดเมนเนมนั้น มีผลต่อการเยี่ยมชมเว็บไซต์ และมีผลต่อเทคนิคการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ลองนึกถึงชื่อโดเมนเนมที่คุณจำได้ หลังจากที่คุณเยี่ยมชม และเปิดเว็บไซต์โน้นนี้จำนวนมาก และสามารถพิมพ์ชื่อเข้าเว็บไซต์นั้นได้ถูกต้อง มีจำนวนถึงสักยี่สิบเว็บหรือเปล่า..
การตั้งชื่อโดเมนเนมมีความสำคัญมากแค่ไหน คุณลองนึกถึงเว็บไซต์ที่ใครต่อใครจำได้ทั่วโลกอย่าง Yahoo.com, Hotmail.com, Google.com หรือเว็บไซต์ไทยอย่าง Sanook.com สิครับ
การจำได้ และพิมพ์ง่ายเป็นคุณสมบัติสำคัญของช่องทางการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ที่นักธุรกิจที่ไม่มีประสบการณ์ด้านอินเตอร์เน็ตมักมองข้าม เหตุผลประกอบอย่างหนึ่งก็คือ การที่องค์กรในบ้านเรามีชื่อเป็นภาษาไทยที่สะกดเป็นภาษาอังกฤษได้หลากหลาย จนพิมพ์ผิดได้ง่าย และส่วนใหญ่ผู้บริหารองค์กร หลายๆ คน มักคิดว่าจดทะเบียนโดเมนเนมตามชื่อบริษัทก็เพียงพอ แต่ถ้าอย่างนั้น ทำไมองค์กรใหญ่อย่าง เทเลคอมเอเชียจึงจดโดเมนเนมสั้นๆ และจำง่ายอย่าง Clickta.com
โดยปกติถ้าลูกค้ารับฟังคำแนะนำของเรา เราจะแนะนำให้จดชื่อโดเมนที่สั้นและจำง่ายที่สุดด้วย คุณอาจไม่รู้ว่านอกจากการจดโดเมนเนมตามชื่อบริษัทแล้วคุณยังสามารถจดโดเมนชื่ออื่นๆ เพิ่มและใช้เข้าเว็บของคุณได้เช่นเดียวกัน
คุณคิดดูสิว่า.. แค่คุณลงทุนเพิ่มกับการจดโดเมนเนมในงบประมาณอีกนิด แต่คนเข้าเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เพราะจำง่าย พิมพ์ง่าย นั้นคุ้มค่าพอหรือไม่ (ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับบริการโฮสติ้ง ที่อนุญาตให้คุณทำอย่างนั้นด้วยครับ เราจึงมี Hosting ที่รองรับบริการแบบนี้โดยเฉพาะ)
ตัวอย่างของลูกค้าของเรา เช่น บริษัท ฟอร์เบสพรอพเพอร์ตี้ จำกัด Forbestproperties.com ซึ่งนอกจากชื่อยาวจนแทบขี้เกียจพิมพ์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการพิมพ์ผิดได้ง่าย ทั้งลดอัตราการเข้าเว็บ และการบ่นของลูกค้า เนื่องมาจากการพิมพ์ผิดแล้ว ผลยังปรากฎว่าหลังจากที่เราแนะนำให้จดโดเมนเพิ่ม เพื่อใช้คู่กัน คือ Fbprop.com ปรากฎว่าผลการตอบรับในเรื่องของการจดจำของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมดีขึ้นอย่างชัดเจน
แนวคิดอีกอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ การจดโดเมนเนมที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้า หรือบริการหลักโดยตรง นอกจากจำง่าย และช่วยให้สะดวกในการค้นหาแล้ว ยังมีผลพลอยได้ในการเข้าถึงผ่าน Search Engine อีกทางหนึ่ง
ลูกค้าของเราอีกรายหนึ่ง คือ บริษัทสินพงศธร จำกัด.. เลือกจดโดเมนเนมของเว็บไซต์เป็น cecrete.co.th แทนที่จะจดชื่อโดเมนเป็นชื่อบริษัท สื่อความหมายตรงตัว และหลุดพ้นจากกรอบเดิมๆ ที่ต้องจดชื่อบริษัทเป็นชื่อโดเมนเนม จำง่าย พิมพ์ง่าย (ลองนึกเปรียบเทียบถึงชื่อโดเมนเนม สินพงศธรดอทคอม คุณคิดว่าคุณจะพิมพ์คำไหนถึงจะสะกดถูกต้องตามที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้สิครับ..)
อย่าลืมว่า ชื่อบริษัทของคุณอาจจำยาก ยาว ที่สำคัญ..คุณควรรู้ว่าข้อจำกัดของการสะกดภาษาไทยในภาษาอังกฤษ คือ สะกดได้หลายวิธี และนั่นคือ อุปสรรดสำคัญที่คุณอาจคิดไม่ถึง : เรื่องง่ายๆ จึงกลายเป็นเรื่องยากตั้งแต่เริ่มต้น
อ้อ..อย่าลืมว่าคนที่คิดชื่อจดโดเมนเนม ไม่ได้มีแค่คุณนะครับ ทั้งคู่แข่งของคุณทางตรงทางอ้อม เขาก็เห็นความสำคัญข้อนี้เช่นเดียวกัน และใครจดก่อนก็ได้ก่อน